คุณแม่รู้มั้ย… ลูกนอนคว่ำดีอย่างไร?
ลูกต้องการการเรียนรู้วิธีควบคุมการทรงตัวของศีรษะให้นิ่ง รวมถึงความสามารถในการหันศีรษะไปตามทิศทางที่ต้องการ เมื่อมีสิ่งเร้ามาดึงดูดความสนใจ โดยจะต้องมีกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรงพอที่จะประคองศีรษะให้นิ่ง ขณะที่มีการเคลื่อนที่ของศีรษะ
สิ่งที่ควรรู้ก่อนจับลูกนอนคว่ำหน้า
1. ตำแหน่งที่วางลูกควรเป็นพื้นราบอยู่ที่ต่ำ เพื่อป้องกันการตกจากที่สูง
2. ไม่มีสิ่งของนุ่มนิ่มอยู่ใกล้ๆ ซึ่งอาจอุดทางเดินหายใจของลูกได้
3. ฝึกวันละ 2-3 ครั้งๆ ละนานประมาณ 5-10 นาที บางคนอาจเริ่มจากวันละครั้ง ถ้าลูกไม่ร้องไห้ ให้อยู่ท่านั้นไปได้นานเท่าที่ลูกยอม ซึ่งอาจเป็นเพียง 15 วินาที หรือ นาน 15 นาที ถ้าลูกร้องไห้ ให้อุ้มขึ้นได้เลย
4. ทารกบางคนร้องไห้เพราะยังไม่ชิน และยังมีกล้ามเนื้อคอไม่แข็งแรง ยกศีรษะไม่พ้น จึงหงุดหงิดที่ตัวเองทำไม่ได้ วิธีแก้ไข คือ ให้ฝึกบ่อยๆ ลูกจะทำได้ดีมากขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มสนุกกับการอยู่ในท่านี้ได้ในที่สุด
5. อย่าจับนอนคว่ำภายใน 1 ชม.หลังกินข้าว เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกอาเจียนง่าย
วิธีฝึกลูกให้สนุกกับการนอนคว่ำ
1. จัดให้ลูกนอนคว่ำบนตัวพ่อแม่ หรือ วางนอนคว่ำพาดขวางบนตัก
2. พ่อแม่นอนคว่ำด้วย หันหน้าเข้าหาลูก เอาของเล่นสีสันสดใสมาล่อหลอก
3. พ่อแม่อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าตัวลูก ส่งเสียงพูดหรือร้องเพลงให้ลูกฟัง เพื่อให้ลูกพยายามเงยหน้าขึ้นมามองพ่อแม่
4. จัดลูกนอนคว่ำอยู่หน้ากระจก เพื่อให้ลูกเห็น และเล่นกับภาพตัวเองในกระจก
5. ทันทีที่ลูกเริ่มหงุดหงิด ให้จัดเป็นท่านอนหงาย แล้วเล่นเป่าปากที่พุงของลูก 2-3 ครั้งให้ลูกอารมณ์ดี แล้วเปลี่ยนเป็นท่านอนคว่ำ เป่าที่หลังแบบเดียวกัน มักเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจที่ได้ผลสำเร็จแทบทุกครั้ง
บทความแนะนำ :
ลูกนอนหลับไม่เป็นเวลา ควรทำอย่างไร?
ควรทำอย่างไร? เมื่อลูก “นอนละเมอ”
ปฏิกิริยาเวลานอนของลูก บอกอะไรได้บ้าง?
มาดูแล 5 เครื่องนอนนี้ให้ลูกน้อยกันเถอะ!!
ขอบคุณข้อมูลจาก : mum2babyshop