ดูแลช่องปากลูกรักตั้งแต่แรกเกิด อย่างไรดี?
กว่าฟันน้ำนมของลูกจะขึ้นก็เมื่อลูกอายุราว 6 เดือน ซึ่งฟันน้ำนมจะขึ้นจนครบและอยู่ไปเรื่อยๆ จนถึงอายุ 11-12 ปี ซึ่งในช่วงระยะเวลานี้เป็นช่วงสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลปากและฟันของลูกให้มากที่สุด เพราะการมีเหงือกและฟันน้ำนมที่แข็งแรงจะส่งผลกับฟันแท้ที่ขึ้นมาด้วยค่ะ เนื่องจากฟันน้ำนมจะกันที่ไว้เพื่อให้ฟันแท้ขึ้นมาอย่างแข็งแรงเป็นระเบียบ
หากช่วงนี้ลูกฟันผุ มีปัญหากับเหงือก มีอาการเจ็บในช่องปากหรือฟันจนไม่อยากเคี้ยวหรือกินอาหาร ส่งผลต่อภาวะโภชนาการ อาจจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือหากฟันน้ำนมหลุดไปนานก่อนฟันแท้จะขึ้นก็อาจส่งผลกับการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกร ทำให้กระดูกขากรรไกรเจริญได้ไม่เต็มที่ รวมถึงพัฒนาการการพูด และการออกเสียงที่ชัดเจนของลูกด้วยค่ะ แต่การดูแลฟันและช่องปากลูกก็ไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ ลองดูคำแนะนำได้เลยค่ะ
การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กแต่ละวัย
เด็กแรกเกิด ฟันจะยังไม่ขึ้น คุณแม่สามารถทำความสะอาดได้โดยใช้ผ้าสะอาดนุ่มๆ เช็ดทำความสะอาดเหงือกลูกเบาๆ หลังดูดนม โดยเช็ดบริเวณกระพุ้งแก้มและลิ้นด้วย และต้องมั่นใจว่าผ้าที่เช็ดสะอาดเพียงพอจะใช้กับช่องปากลูก
เด็ก 6 เดือน ก่อนฟันน้ำนมจะขึ้น ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์เพื่อให้ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ หรือเมื่อฟันน้ำนมขึ้นแล้วควรใช้นิ้วพันผ้าถูทำความสะอาดที่บริเวณฟันของลูกให้สะอาดเช่นเดียวกับการทำความสะอาดเหงือก ช่วงนี้ฟันลูกยังเล็กอยู่จึงยังใช้แปรงสีฟันไม่ถนัดเท่าใช้ผ้าพันนิ้วคุณแม่ค่ะ
เด็ก 1-3 ปี ช่วงนี้ฟันมีขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มใช้แปรงสีฟันสำหรับเด็กได้แล้ว คุณแม่ควรเริ่มสอนลูกแปรงฟัน โดยลองแปรงฟันให้ลูกก่อน และฝึกให้ลูกรู้จักการบ้วนน้ำก่อนที่จะให้ลูกแปรงฟันด้วยตัวเอง เพราะหากลูกเผลอกลืนยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ก็อาจส่งผลเสียกับฟันของลูกได้
เด็ก 3-4 ปี ลูกๆ เริ่มแปรงฟันเองได้แล้ว แต่ก็ยังต้องคอยตรวจเช็คหลังแปรงฟันทุกครั้งว่าแปรงสะอาดทั่วถึงหรือไม่ และควรพาลูกไปพบหมอฟันเป็นประจำเพื่อเช็คสุขภาพปากและฟัน รวมถึงรับคำแนะนำในการดูแลมาด้วยค่ะ เพราะเด็กวัยนี้ชอบกินขนมขบเคี้ยว หรือบางกิจกรรมอาจทำให้มีปัญหาฟันได้ เช่น การว่ายน้ำที่มีคลอรีน ก็อาจจะมีผลให้ลูกฟันกร่อนได้
เด็ก 6 ปีขึ้นไป เริ่มมีฟันแท้ขึ้นแล้ว ฟันน้ำนมอาจเริ่มโยกและหลุดไปได้เอง แต่หากฟันแท้ขึ้นมาแล้วฟันน้ำนมยังไม่ยอมหลุดนานเกิน 3 เดือน ควรไปพบคุณหมอเพื่อปรึกษาหรือถอนฟันน้ำนมออกค่ะ เพื่อฟันแท้จะได้ขึ้นได้อย่างเป็นระเบียบ
การดูแลสุขภาพช่องปาก และฟันของลูก
- เลือกอาหาร หรือขนมที่ไม่มีน้ำตาล หรือไม่หวานให้ลูก
- เมื่อลูกฟันขึ้นต้องแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งคือ เช้า และ ก่อนนอน หรือแปรงฟันทุกครั้งหลังกินอาหารแล้ว
- พาลูกไปพบหมอฟันตั้งแต่เด็กๆ อย่าขู่เด็กให้กลัวหมอฟัน เพราะจะทำให้เด็กฝังใจจนไม่อยากไปพบหมอฟันในครั้งต่อไป
- สอนลูกบ้วนปากและแปรงฟันให้ได้ด้วยตัวเอง เมื่อลูกสามารถบ้วนปากได้อาจเริ่มสอนให้ลูกแปรงฟันด้วยตัวเอง โดยการจับมือลูกหัดก่อน และใช้ยาสีฟันขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว รวมทั้งเลือกยาสีฟันสำหรับเด็กที่ไม่มีฟลูออไรด์ เพราะถึงแม้ลูกจะบ้วนปากได้ แต่เวลาแปรงฟันอาจจะเผลอกลืนยาสีฟันลงไป ซึ่งการกลืนฟลูออไรด์ลงไปในเด็กเล็กอาจทำให้ฟันตกกระหรือเป็นรอยด่างได้
เคล็ดลับการการเลือกยาสีฟันและแปรงสีฟันสำหรับเด็ก
- พาลูกไปเลือกแปรงสีฟัน และอุปกรณ์การแปรงฟันด้วยตัวเอง เพื่อกระตุ้นให้อยากแปรงฟัน
- การเลือกแปรงสีฟันให้ลูกควรเลือกให้เหมาะกับแต่ละวัย เหมาะกับขนาดปากและฟันของลูก ขนต้องนุ่มไม่บาดเหงือก ที่จับพอเหมาะมือ ลูกสามารถจับได้ถนัดมือ
- การเลือกยาสีฟันสำหรับลูก ควรเลือกยาสีฟันสูตรปราศจากฟลูออไรด์ เพื่อป้องกันลูกเผลอกลืนยาสีฟันโดยไม่ตั้งใจ และเป็นสาเหตุของโรคฟันตกกระ โดยยาสีฟันที่ไม่มีฟลูออไรด์บางชนิดจะทดแทนด้วยแคลเซียมและฟอสเฟต ที่ช่วยป้องกันฟันผุอย่างได้ผลเช่นเดียวกันค่ะ
- เลือกยาสีฟันที่มีรสผลไม้ที่ลูกชอบ แต่ควรเลือกยาสีฟันที่มีไซลิทอล หรือสารให้ความหวานจากธรรมชาติคุณภาพสูงที่ไม่ก่อให้เกิดฟันผุแทนแซคคาริน
เลือกยาสีฟันที่ไม่มีสารโซเดียม ลอรีล ซัลเฟต หรือ SLS เพื่อความปลอดภัยขอ
บทความแนะนำ :
ลดความเจ็บปวด เมื่อลูกน้อยฟันขึ้น
แก้ปัญหา ลูกนอนกัดฟัน!
สัญญาณบ่งบอกเมื่อลูกฟันขึ้น!!
ฟันลูกน้อยไม่ยอมขึ้นควรทำอย่างไร?
ขอบคุณข้อมูลจาก : momypedia