ปฏิกิริยาเวลานอนของลูก บอกอะไรได้บ้าง?
เวลาที่ลูกรักนอนคุณแม่อย่างเราอาจจะเห็นว่าลูกๆ โดยเฉพาะในช่วงขวบแรกมีอาการ หรือปฏิกิริยาตอนนอนแบบต่างๆ แต่คุณแม่เคยสงสัยไหมค่ะว่า ลักษณะอาการตอนนอนของลูกบอกอะไรเราบ้าง เมื่ออ่านแล้ว คุณแม่อย่าลืมลองไปสังเกตลูกรักกันนะคะ
ลูกนอนผวา
จะเห็นได้ชัดในช่วง 2-3 เดือนแรก เกิดจากระบบสมองที่ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ ระบบประสาทอัตโนมัติจงทำงานโดยเด็กไม่ได้ตั้งใจ ฉะนั้นเมื่อมีอะไรมากระทบ เด็กก็อาจเกิดอาการผวาหรือขยับตัวนิดหน่อย และเด็กยังมีอาการผวาอีกช่วงคือ 6 เดือน – 1 ขวบ มีอาการร้องละเมอ เอะอะโวยวาย ตีแขนตีขาทั้งที่ตายังหลับสนิท จนบางทีคุณพ่อคุณแม่ตกใจ แม้จะปลุกก็ทำได้ยาก ซึ่งเป็นเรื่องปกติของช่วงวัยนี้ ไม่น่าเป็นห่วงค่ะ
ในทางการแพทย์แล้ว การนอนผวาไม่ได้เกิดกับเด็กทุกคนและไม่ส่งผลต่อการเรียนรู้หรือพัฒนาการแต่อย่างใด หากไม่อยากให้ลูกนอนผวาก็ไม่ควรมีสิ่งต่างๆ ไปกระทบลูก เช่น ทำเสียงดัง หรือเปิดไฟจนสว่างจ้าเกินไป
ลูกนอนกรน
มักพบได้มากในเด็กแรกเกิด หรือนอนหลับแล้วมีเสียงครืดๆ ส่วนใหญ่คุณหมอบอกว่าเป็นเรื่องผิดปกติ และมักมีสาเหตุเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจที่พัฒนาผิดปกติ
ปัญหาการนอนกรนที่รุนแรงจะพบในเด็กขวบปีขึ้นไป และส่งผลต่อพัฒนาการและการเติบโตได้ ส่วนการกรนที่ไม่รุนแรง อาจมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อหย่อน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะบุคคลเท่านั้น ไม่มีอันตราย และไม่มีผลต่อพัฒนาการ
ลูกนอนลืมตา (ตากระต่าย)
การนอนโดยเปลือกตาปิดไม่สนิทเป็นเรื่องธรรมชาติของแต่ละคน และเชื่อว่าไม่มีผลสกัดกั้นหรือยับยั้งการเรียนรู้
ลูกนอนยิ้มหวานหรือหน้าบึ้ง
ขมวดคิ้วขณะนอนหลับเด็กอาจทำหน้าตาต่างๆ เชื่อว่าเป็นผลมาจากคความคิดและนิสัยยามปกติของเด็กมากกว่า หากลูกอารมณ์ดีก็อาจจะยิ้มออกมาได้
สังเกตว่าลูกนอนหลับสนิทหรือไม่
มักจะเป็นที่เข้าใจว่า เด็กหลับสนิทจะนอนนิ่งๆ ไม่ขยับตัว แต่ทางการแพทย์เชื่อว่า เด็กที่นอนละเมอขยับตัว หรือส่งเสียงระหว่างนอนแต่ไม่ได้ตื่นขึ้นมาก็ยังถือว่าเป็นเด็กที่หลับสนิทอยู่
บทความแนะนำ :
มาดูแล 5 เครื่องนอนนี้ให้ลูกน้อยกันเถอะ!!
ลูกนอนหลับไม่เป็นเวลา ควรทำอย่างไร?
ควรทำอย่างไร? เมื่อลูก “นอนละเมอ”
“นอนดึก” ทำให้ลูกแคระ ไม่โตตามวัย!!
ขอบคุณข้อมูลจาก : rakluke.com