ภาวะลิ้นติด สามารถรักษาได้หรือไม่?
ภาวะลิ้นติด
อาจเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ค่อยเจอในเด็กมากนักเพราะเป็นเรื่องที่เด็กน้อยคนที่จะเป็น อาจเกิดจากหลาย ๆ สาเหตุที่คุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถรู้ได้เลย ลองไปทำความรู้จักกับเรื่องนี้กันค่ะ
ลิ้นติด เป็นภาวะที่การเคลื่อนไหวลิ้นถูกจำกัดจากการที่มีเนื้อเยื่อไปยึดเกาะระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปาก ส่งผลให้เกิดความผิดปกติ ซึ่งเนื้อเยื่อที่ว่านี้อาจสั้นไปและยึดติดกับลิ้นแน่นไป หรืออาจเกาะออกไปตามพื้นล่างของลิ้นยาวเกินไป หากยื่นไปถึงปลายลิ้นอาจทำให้เห็นปลายลิ้นเป็นรูปตัว V หรือเป็นรูปหัวใจ ภาวะนี้มักเป็นกรรมพันธุ์และไม่สามารถป้องกันได้
อาการที่แสดงว่า ลูกเกิดภาวะลิ้นติด
– ลูกแลบลิ้นได้ไม่พ้นริมฝีปากหรือเหงือกบน
– ไม่สามารถกระดกปลายลิ้นขึ้นไปสัมผัสเพดานปากได้
– ไม่สามารถเคลื่อนไหวลิ้นไปด้านข้างได้
– เมื่อแลบลิ้น ปลายลิ้นจะแบนไม่มน หรือเป็นเหลี่ยม ไม่แหลมมนอย่างทั่ว ๆ ไป
– ปลายลิ้นอาจเป็นร่องหยักเข้ามาเป็นรูปหัวใจ
ข้อบ่งชี้ว่าเด็กที่มีภาวะลิ้นติด ที่ควรได้รับการแก้ไข
– คุณแม่จะเจ็บหัวนมหรือมีร่องรอยฟกช้ำ หรือเป็นแผล
– หัวนมผิดรูปไปหลังจากให้ลูกกินนมแล้ว
– มีรอยกดหรือรอยเป็นริ้ว ๆ บนหัวนมหลังจากที่ลูกดูดนมแล้ว
– ลูกมักดูดหรืองับไม่ได้ หรือดูดแล้วหลุดเลยทำให้ดูดได้แต่ลม
– ได้ยินเสียงคล้ายกระเดาะลิ้นจากปากลูกขณะดูดนม
– น้ำหนักตัวลูกไม่ขึ้นหรือขึ้นช้า
การรักษาภาวะลิ้นติด
การรักษาภาวะลิ้นติดใช้การผ่าตัด โดยในทารกต่ำกว่า 4 เดือน หรือฟันยังไม่ขึ้น สามารถใช้ยาเฉพาะที่ได้ ทารกไม่จำเป็นต้องงดนมก่อนผ่าตัด ใช้ระยะเวลาในการผ่าตัด ประมาณ 10-15 นาที หลังผ่าตัดเด็กสามารถกินนมได้ทันทีและกลับบ้านได้ ส่วนในเด็กโตจำเป็นต้องใช้วิธีดมยาสลบเพื่อผ่าตัด
บทความแนะนำ :
7 อย่า!! ที่ไม่ควรทำเมื่อลูก “กินยาก”
สะดือ บอกสุขภาพเจ้าตัวเล็กได้อย่างไร?
เคล็ดลับ!! ดูแลสุขภาพลูกน้อยช่วง “หน้าฝน”
คุณแม่ควรรู้ “ลำไส้ที่ดี” ของลูก สร้างได้แบบนี้…
ขอบคุณข้อมูลจาก : baby.haijai.com