mom

ขณะตั้งครรภ์ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ จึงทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์อ่อนๆ มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมีอาการแปลกๆตลอดการตั้งครรภ์ค่ะ

ช่วงแรก เริ่มตั้งแต่ตั้งครรภ์ประมาณ 16-22 สัปดาห์จนถึงวันแรกหลังคลอด ร่างกายจะเริ่มผลิต Colostrum หรือหัวน้ำนม หรือน้ำนมสีเหลืองข้น ในปริมาณน้อย

ช่วงที่สอง หลังคลอดลูกประมาณ 30 – 40 ชม. ฮอร์โมนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมเพิ่มขึ้น

ช่วงที่สาม น้ำนมจะมีมากขึ้นใน 2 – 3 วันหลังคลอด แต่สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์บางคน มีปริมาณฮอร์โมนที่กระตุ้นการหลังน้ำนม ( โปแลคติน )ที่สูงมาก จึงทำให้มีน้ำนมไหลออกมาก่อนคลอดได้ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ

การดูแลตนเองเมื่อมีอาการ น้ำนมไหลขณะตั้งครรภ์

1. หลีกเลี่ยงการบีบ จับ หรือเค้นที่หัวนมบ่อยๆ เพื่อดูความผิดปกติของการไหลของน้ำนม เพราะอาจจะเป็นการกระตุ้นให้มีน้ำนมแม่ไหลออกมามากขึ้น

2. การบีบจับที่หัวนมบ่อยๆ ส่งผลให้มดลูกบีบรัดตัวได้ หากมดลูกหดรัดตัวถี่มากๆ ส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนดได้

3. หากมีน้ำนมไหลร่วมกับมีอาการผิดปกติอย่างอื่น เช่น  ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว มองเห็นภาพไม่ชัด หรือเห็นภาพซ้อนควรพบแพทย์ เพราะอาจจะมีความผิดปกติอื่นที่พบร่วมกับการไหลของน้ำนมได้ด้วย เช่น มีความผิดปกติที่ต่อมใต้สมองได้.

 

บทความแนะนำ :

“ตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก” โรคน่ากลัวของคุณแม่ตั้งท้อง
ตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก ส่งผลต่อทั้งชีวิตลูกในอนาคต
6 ผลไม้ เพื่อคุณแม่ตั้งครรภ์
แนะนำ 15 คำถามที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรถามหมอ เมื่อไปฝากครรภ์

ขอบคุณข้อมูลจาก :  mamaexpert

ภาพจาก : thehealthsite.com