hit tracker

สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้ เกี่ยวกับการนอนของลูกน้อยแรกเกิด – 6 เดือนเป็นอย่างไร?


bvcvf

“การนอน” เป็นกิจกรรมแรกของสมองในช่วงพัฒนาการระยะแรก นาฬิกาชีวภาพหรือนาฬิกาชีวิตของคนเราจะถูกกระตุ้นด้วยความสว่างและความมืด ร่างกายเราต้องใช้เวลาในการพัฒนาระบบเหล่านี้ จึงเป็นเหตุให้ทารกนอนไม่เป็นเวลานั่นเองค่ะ

แรกเกิด-3 เดือน

  1. ให้ลูกนอนกลางวันบ่อยๆ ช่วงอายุ 6-8 สัปดาห์ ลูกทารกมักไม่ตื่นนานเกินครั้งละ 2 ชั่วโมง หากคุณพาลูกนอนช้ากว่านั้นลูกอาจง่วงหรือเหนื่อยเกินไปจนทำให้มีปัญหานอนไม่หลับ
  2. สอนให้ลูกรู้จักความแตกต่างของกลางวันและกลางคืนสอนได้เมื่อลูกอายุได้ 2 สัปดาห์ โดยเล่นกับลูกให้เขาตื่นตัวในตอนกลางวันให้มากที่สุด ทำให้ทั้งบ้านสว่าง ไม่ต้องควบคุมระดับเสียงในบ้าน ส่วนกลางคืน อย่าเล่นกับลูกเมื่อลูกตื่น ห้องควรมืด เสียงเบาที่สุด อย่าคุยกับลูกนานเกินไป ไม่นานลูกจะเรียนรู้ได้เองว่ากลางคืนคือเวลานอน
  3. สังเกตอาการง่วงของลูก ลูกขยี้ตาหรือยัง ลูกดึงหูตัวเองไหม หรือหงุดหงิดง่ายกว่าปกติหรือไม่ ถ้าสังเกตอาการเหล่านี้ให้วางตัวลูกลงนอน แล้วคุณจะได้รู้นาฬิกาชีวิตเรื่องเวลานอนของลูก และรู้ว่าลูกพร้อมหลับหรือยัง
  4. สร้างกิจวัตรก่อนนอน เริ่มได้เมื่อลูกอายุได้ 6 สัปดาห์ หรือจะเริ่มก่อนก็ไม่เสียหาย โดยมีหลักการคือ ทำกิจวัตรทุกคืนในเวลาเดิม กิจกรรมไม่ควรน่าตื่นเต้นเกินไปหรือทำให้ลูกกลัว วิธีที่แนะนำ เช่น อ่านนิทานให้ลูกฟัง ร้องเพลงกล่อม เปลี่ยนชุดนอน หอมแก้มลูก ถ้าจะให้ลูกกินนม ควรให้กินเสร็จก่อนจะอุ้มลงนอนในเตียงของเขา

4-6 เดือน

  1. กำหนดเวลาเข้านอนกลางคืนและนอนกลางวัน เพื่อให้ลูกนอนให้เป็นเวลา ควรเลือกเวลาเข้านอนที่เหมาะกับครอบครัวเรา และทำให้ได้ตามนั้นให้มากที่สุด ถ้าลูกดูจะหลับช้ากว่าเวลา อาจเป็นเพราะกิจกรรมโลดโผนเกินไป ถ้าลูกมีปัญหานอนไม่หลับหรือง่วงตลอดเวลา ลองพาลูกเข้านอนให้เร็วกว่าเดิม ถ้าลูกง่วงหรือเหนื่อยจัดอาจหลับยาก
  2. สร้างกิจวัตรก่อนนอน ถ้ายังไม่มี จะเป็นอะไรก็ได้ ขอแค่ให้ทำตามลำดับเดิมและเวลาเดิมทุกคืนก็เพียงพอ เพราะลูกต้องการความสม่ำเสมอ
  3. ปลุกลูกตอนเช้าเพื่อตั้งนาฬิกาชีวิตลูก ถ้าลูกไม่ตื่นในเวลาปกติสามารถปลุกลูกได้ ลูกควรนอนและตื่นตามกำหนดเวลา การปลุกลูกเวลาเดิมทุกเช้ายังช่วยให้ลูกนอนเป็นเวลาอีกด้วย

 

Photo credit: baby.haijai.com


สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้ เกี่ยวกับปานของลูกน้อย


162

ปานในลูกน้อยเป็นอีกหนึ่งอาการที่พบในเด็กแรกเกิด …more »