06

1. อย่าพูดว่า หยุด อย่า ไม่ ห้าม – เพราะลูกจะไม่ได้เรียนรู้สิ่งที่อยู่ตรงหน้า สิ่งที่ตัวเองสนใจ จนเขาขาดแรงบันดาลใจในการริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความฉลาดและความถนัดของตัวเอง

2. เลอะได้ก็ล้างได้ เปื้อนได้ก็ซักได้ – การปล่อยลูกเรียนรู้ด้วยตัวเองย่อมต้องเลอะเป็นธรรมดาตามสไตล์เด็กค่ะ ตราบใดที่ไม่เลอะจนอาจทำให้เจ็บป่วย ปล่อยให้ลูกเรียนรู้ที่จะพัฒนาความฉลาดของตัวเองจากการเลอะอย่างเต็มที่

3. ปล่อยให้ผิดบ้างแล้วจะจำขึ้นใจ – ถ้าลองปล่อยให้ลูกเรียนรู้เองบ้างว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นผิด ต่อไปจะเกิดเป็นการพัฒนาตัวเองไปสู่สิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสม เช่น วิ่งเร็วมากแล้วจะล้มจนเจ็บ ต่อไปก็จะไม่วิ่งเร็วอีก หรือหาวิธีวิ่งที่จะทรงตัวอยู่ได้โดยไม่ล้ม

4. ไม่เบื่อที่จะตอบคำถาม – เด็กๆ ทุกคนเป็นเจ้าหนู ทำไม กันทั้งนั้น บางทีถ้าพ่อแม่ลองไม่บอก ลองไม่ถาม แต่ปล่อยให้เขาสงสัยและเอ่ยปากถาม จากนั้นจึงค่อยบอกก็จะช่วยกระตุ้นให้เขาเป็นเด็กช่างคิด ช่างสังเกต และใฝ่รู้

5. สร้างโจทย์ไว้รอบตัวเพื่อฝึกให้ลูกฉลาด – จับของเล่นที่ไม่เข้าพวกกัน จับของใช้ในบ้านที่ไม่อันตรายรวมกับของเล่น เพื่อฝึกให้ลูกได้หยิบจับเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างประสาทสัมผัส การมองเห็น การจดจำ และจินตนาการ ไม่แน่ว่าพอแม่หันกลับมาอีกที ลูกอาจจะเอาของเล่นกับของใช้ในบ้านมาต่อกันเป็นรูปร่างที่น่าทึ่งก็ได้นะคะ

 

บทความแนะนำ :

5 วิธีดีๆ เสริมสร้างลูกให้ฉลาดสดใสทั้งกายใจ
วิธีการกระตุ้นสมองให้ลูกน้อยฉลาด…คุณแม่ช่วยได้
ลูกซนเพราะฉลาด หรือลูกซนเพราะ โรคซนสมาธิสั้น?
4 วิธี…ทำอย่างไรให้ลูกฉลาด

ขอบคุณข้อมูลจาก : easyhappykids