เตือนพ่อแม่!!! ลูกน้อย “นอนคว่ำ” อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต…
สำหรับเด็กทารกบางคนมีความผิดปกติในเซลล์สมองที่ช่วยในการควบคุมการหายใจและการตื่นนอน เนื่องจากโดยปกติ หากเด็กทารกหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปไม่เพียงพอ สมองจะปลุกให้เด็กตื่นและร้องไห้ แต่ในกรณีเด็กที่มีปัญหาในเซลล์สมองอาจจะไม่สามารถทำแบบนั้นได้
เป็นอาการนอนหลับไม่ตื่น หรือ โรคไหลตายในเด็กทารก เป็นอาการหมดลมหายใจ และเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน โดยไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้ มักจะเกิดขึ้นกับเด็กทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี และส่วนใหญ่จะเกิดกับทารกในช่วง 1- 4 เดือน
เด็กทารกอายุน้อยกว่า 1 ปีที่นอนคว่ำหน้ามีโอกาสเสียชีวิตอย่างฉับพลันได้มากกว่าเด็กที่นอนตะแคง หรือนอนหงาย นักวิจัยบางท่านสมมติฐานว่าการนอนคว่ำนั้นทำให้เกิดการกดทับบริเวณหน้าอกของเด็ก ทำให้การไหลเวียนของอากาศแคบลง และหายใจลำบากขึ้น เด็กจะหายใจเอาอากาศเก่า คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับเข้าไปใหม่ โดยเฉพาะเด็กทารกที่นอนบนเตียงนิ่มๆ หรือมีเครื่องนอน เช่น ตุ๊กตา หรือหมอนอยู่ใกล้ๆ ใบหน้า ด้วยพื้นที่นุ่มนิ่ม ยวบยาบ ทำให้เกิดแอ่งเล็กๆ บริเวณปากของทารก และกักเก็บอากาศที่หายใจออกมาเอาไว้ เมื่อเด็กหายใจเอาอากาศเดิมเข้าไปใหม่ ระดับก๊าซออกซิเจนที่ทารกควรจะได้รับก็จะต่ำลง และสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น ในที่สุดก็ขาดออกซิเจนจนเสียชีวิต
การนอนที่ปลอดภัย
การนอนหลับให้เพียงพอในเด็กทารกเป็นสิ่งจำเป็น เพราะส่งผลต่อการเจริญเติบโตร่างกายและสมอง มีหลายครั้งที่มีข่าวการเสียชีวิตของทารกจากการนอนคว่ำ จมูกปากกดทับบนหมอนจนหายใจไม่ออก บางครั้งก็มีข่าวเด็กตกเตียง หรือคุณแม่นอนทับลูกน้อยจนเสียชีวิต
ท่านอน
ท่านอนที่ถูกต้องคือการนอนหงาย โดยแนะนำให้จัดท่านอนของลูกให้นอนหงายเสมอ เพื่อลดการเสียชีวิตในเด็ก 2-7 เท่า เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือนควรนอนหงายเท่านั้น เพราะการนอนคว่ำ หรือนอนตะแคงอาจเกิดอันตรายได้ เนื่องจากเด็กยังยกศีรษะไม่เป็น แต่คุณแม่ก็ยังสามารถจับลูกให้นอนคว่ำได้บ้าง เมื่อเวลาที่มีคุณพ่อ คุณแม่เฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อลดการเกิดภาวะหัวแบน และได้ออกกำลังต้นแขน และหัวไหล่ให้เกิดความแข็งแรงอีกด้วย
บทความแนะนำ :
ความเชื่อ VS ความจริง ของการนอนลูก หลับดีหรือมีปัญหา??
ท่านอนแบบไหนเหมาะกับลูกในแต่ละช่วงวัย?
คุณพ่อคุณแม่มาฝึกการนอนที่ดีของลูกน้อยกันเถอะ…
การนอน !! ส่งเสริมพลังสมองลูกได้ จริงหรือไม่…
ขอบคุณข้อมูลจาก : amarinbabyandkids