โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก

แพทย์เตือน พบโรคมือเท้าปาก สายพันธุ์รุนแรง แพร่เชื้อเพิ่มอีก 5 เท่า ล่าสุดเด็กเสียชีวิตแล้ว 3 ราย

นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า โรคมือ เท้า ปาก เกิดการระบาดในประเทศไทยมานาน ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสคอกซากีเอ 6 เอ 16 ซึ่งไม่ค่อยรุนแรงนัก เด็กจะมีกาอารไข้ สูง เป็นตุ่มน้ำใส ที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และยังมีเชื้อเอ็นเทอร์โรไวรัส 71 หรือ “อีวี 71” ซึ่งเป็นเชื้อรุนแรงที่ทำให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อสมอง โดยเฉพาะตรงแกนสมอง กล้ามเนื้อหัวใจ และเสียชีวิตได้ ซึ่งอัตราตายจากเชื้ออีวี 71 พบว่าถ้าเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี โอกาสเสียชีวิต 1 ใน 100 คน ถ้าต่ำกว่า 3 ปี โอกาสเสียชีวิตเป็น 1 ต่อ 300 คน แต่ถ้าอายุมากกว่านี้โอกาสเสียชีวิตก็น้อยลง อาจจจะเป็น 1 ต่อ 3,000 คน และโอกาสเป็นมือ เท้า ปากก็น้อยลง…

การระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ในปีที่ผ่านมา พบว่าเกิดจากเชื้ออีวี 71 เพียงร้อยละ 10 แต่ล่าสุดตั้งแต่ต้นปี 2560 จนถึงตอนนี้ตรวจพบว่าในจำนวนเด็กที่ป่วยมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้ออีวี 71 ถึงร้อยละ 50 หรือเพิ่มขึ้นจากเดิม 5 เท่า พบมากที่ภาคเหนือตอนล่าง อีสาน กทม. ซึ่งจากที่มาตรวจที่แล็ปจุฬาฯ 500 คน พบเป็นอีวี 71 แทบทั้งนั้น และเสียชีวิตอย่างน้อย 3 ราย  จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก เพราะเป็นเชื้ออันตรายที่เข้าสมอง กล้ามเนื้อหัวใจและเสียชีวิตได้ และเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา จากโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจ.ขอนแก่น พบว่ามีเด็ก 1 คนเป็นมือ เท้า ปาก วันรุ่งขึ้นหอบ และเสียชีวิต เร็วมาก ลักษณะนี้เป็นการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ
แม้ระยะนี้อัตราป่วยเริ่มลดลง แต่ตราบใดที่ยังไม่หมดหน้าฝน แล้วเข้าสู่หน้าร้อนจริงๆ ก็ยังน่าเป็นห่วง เพราะเชื้อก่อโรคนี้ไม่ว่าสายพันธุ์ใดนั้นเจริญเติบโตได้ดีช่วงหน้าฝน  มีความคงทุนสูงในสิ่งแวดล้อมไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ด้วยแอลกอฮอล์ หรือกรด สารเคมีที่จะฆ่าเชื้อนี้ได้คือ คลอรีน โซเดียมไฮโปตคอไรด์ ไฮเตอร์ น้ำยาล้างห้องน้ำ และกลุ่มฟอร์มาลีน เป็นต้น โรคนี้ ติดต่อง่ายมาก โดยเอาเชื้อที่มาทางสารคัดหลั่ง น้ำลาย อุจจาระ และเข้าสู่ร่างกายโดยการใช้มือสัมผัสของที่มีเชื้อเข้าปาก “เมื่อเด็กได้รับเชื้อระยะฟักตัว 3-5 วัน อาการเริ่มต้นมีไข้ วันเดียวเท่านั้นก็จะเริ่มมีตุ่ม มีแผลในปาก บริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ รอบทอนซิล กระพุ้งแก้ม ส่วนที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เป็นตุ่มน้ำใสๆ เล็กๆ ในรายที่เป็นมากอาจจะขึ้นที่หัวเข่า ข้อศอก รอบก้น บางรายเล็บหยุดการเจริญเติบโต”

สิ่งที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง 

1.เป็นไข้สูงไม่ลด

2.ตาลอย ซึม ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของสมอง

3.หัวใจเต้นเร็ว เต้นแรง

4.กระตุกที่ปลายมือ ปลายเท้า หรือหอบ น้ำลายฟูมปาก การรักษาตามอาการอย่าให้ขาดน้ำ ให้กินของที่เย็นขึ้นมาหน่อยเพื่อไม่ให้เจ็บปากน้อยลง ใช้เวลา 3-5 วัน อย่างช้าไม่เกิน 7 วันก็หาย

แต่ในรายที่เป็นมากจะต้องรักษาด้วยยา ปัจจบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุดคือการล้างมือบ่อยๆ เพราะเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายโดยการที่มือสัมผัสเชื้อแล้วเข้าปาก การล้างต้องล้างให้ถูกวิธี ล้างนานจบ 1 เพลง กินอาหารที่สุก ไม่ใช้ช้อนเดียวกันป้อนอาหารเด็กอนุบาล เมื่อเกิดป่วย 3 รายขึ้นไปควรเปิดห้องเรียน เพื่อทำความสะอาด

 
บทความแนะนำ :

โรคธาลัสซีเมีย หลีกเลี่ยงได้ถ้าพ่อแม่ไปเลือดก่อนจะมีลูก
โรคมือเท้าปากในเด็ก อันตรายที่พ่อแม่ต้องระวัง!!!
มือเท้าปาก โรคยอดฮิตของเด็ก ครึ่งแรกปี’60 ป่วยแล้วกว่า 7 พันราย!!
9 วิธีป้องกัน “โรคมือ เท้า ปาก” ที่พ่อแม่ควรรู้

ขอบคุณข้อมูลจาก : เดลินิวส์